วันจันทร์ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การเขียนกระทู้ ธรรมศึกษาโท

แผนการเขียนเรียงความกระทู้ธรรม 

เลขที่   ...........
ประโยคนักธรรมชั้น  โท
วิชา  เรียงความแก้กระทู้ธรรม
สอบในสนามหลวง
วันที่  ............... เดือน .......................................พ.ศ. ๒๕.......

(๑)                                               ..................สุภาษิตบทตั้ง.....................
                                                       ....................คำแปล......................
(๒)                 บัดนี้...................................................................................................
.................................................................................................................................
(๓)                คำว่า.............อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง (ประมาณ 8-10บรรทัด).... ..............
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
.......................................สมดังสุภาษิตที่มาใน......( ที่มาของสุภาษิต).......ว่า
      (๔)                                             ......................สุภาษิตเชื่อม........................
                ... ...................คำแปล.......................... 
(๕)          คำว่า............. อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง (ประมาณ 7-10 บรรทัด).......................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
.....................................สมดังสุภาษิตที่มาใน......(ที่มาของสุภาษิต).....ว่า
(๖)                                           .........................สุภาษิตเชื่อม........................
                                                ............................คำแปล ...........................
(๗)         คำว่า ...........อธิบายเนื้อความสุภาษิตบทตั้ง (ประมาณ 6-10 บรรทัด) .........................
..................................................................................................................................
..................................................................................................................................
(๘)         สรุปความว่า (ประมาณ 5 บรรทัด)........................................................................
      ..................................................................................................................................
      ..................................................................................................................................
      ............................................สมดังพุทธศาสนสุภาษิตที่ยกขึ้นเป็นนิกเขปบทเบื้องต้นว่า
      (๙)
       ......................สุภาษิตบทตั้ง.........................
         ........................คำแปล.............................
ดังนัยพรรณนามาด้วยประการฉะนี้ ฯ (๑๐





 (ตังอย่างการเขียน)


โย จ
  วสฺสสตํ  ชีเว         ทุปฺปญฺโญ   อสมาหิโต
เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย        ปญฺญวนฺตสฺส  ฌายิโน
ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่มั่นคง  พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ   มีชีวิตอยู่สิ้นวันเดียว  ประเสริฐกว่า. 
          ณ บัดนี้จักได้บรรยายขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้     เบื้องต้น  พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
          คำว่า  ผู้มีปัญญาทราม ” คือ ผู้โง่เขลา  มีใจประกอบด้วยอวิชชา  ไม่รู้แจ้งเห็นจริงตามสภาวะความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ไม่รู้ในหลักของชีวิตว่าเป็นตามหลักของไตรลักษณ์  คือ หลงเข้าใจว่า ชีวิต และสรรพสิ่งทั้งปวง เป็นของเที่ยง มีความเป็นอยู่อย่างจีรังยั่งยืน  ทำให้ไม่สามารถเข้าใจถึงความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น  ทำให้มีความยึดถือในเรื่องของตัวตน หลงยึดมั่นในชีวิตและสิ่งทั้งปวงว่าเป็นของเรา  เมื่อสิ่งทั้งหลายเหล่านั้นเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพไปไม่เป็นไปตามที่ตนเองต้องการ  จึงทำให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจ  ไม่สามารถยอมรับถึงสิ่งที่เกิดขึ้นได้อีกประการหนึ่ง  คนโง่เขลานั้น มีลักษณะประมาทในการทำดี  มีแต่ประกอบกรรมที่ยังตนและคนอื่นให้เดือดร้อน ต่างจากคนที่มีปัญญา  ซึ่งเป็นผู้ไม่ประมาทในชีวิต มองเห็นการทำความดี มีผลเป็นความสุข  หลีกเลี่ยงการทำชั่วปวง  ดังนั้นบัณฑิตจึงใช้ชีวิตต่างจากคนที่ไม่มีปัญญาเพราะเล็งเห็นผลที่เกิดขึ้น  สมดังพุทธภาษิตที่มาใน สังยุตตนิกาย  สคาถวรรค ว่า
ยาทิสํ  วปเต  พีชํ     ตาทิสํ  ลภเต  ผลํ
กลฺยาณการี  กลฺยาณํ    ปาปการี    ปาปกํ
บุคคลหว่านพืชเช่นใด  ย่อมได้รับผลเช่นนั้น  
ผู้ทำกรรมดี ย่อมได้รับผลดี   ผู้ทำกรรมชั่ว ย่อมได้รับผลชั่ว.
          คำว่า " ผล " ในที่นี้คือ  สิ่งที่เกิดขึ้นจากการกระทำหรืออะไรก็ตามที่ต่อเนื่องมาจากเหตุ ท่านเปรียบเสมือนกับชาวนา  เมื่อหว่านข้าวลงในนา ย่อมได้รับผลคือ  ข้าวนั่นเอง  หรือชาวสวนที่ปลูกผลไม้ไม่ว่าจะเป็นมะม่วง  ลำใยทุเรียน  กล้วย  ผลที่ได้ก็จะเป็นมะม่วง  ลำใย  ทุเรียน  กล้วย ตามต้นที่ปลูก  อุปมานี้ฉันใด  การทำกรรมก็ฉันนั้นเหมือนกัน ใครทำกรรมดีย่อมได้รับผลดี  ใครทำกรรมชั่ว  ย่อมได้รับผลชั่ว  ผลของการกระทำที่เกิดขึ้นนั้นก็มาจากเหตุแห่งการกระทำที่ตนได้ทำแล้วนั่นเอง  ดังนั้นบุคคลผู้รู้ทั้งหลายจึงยินดีในการบำเพ็ญความดี  ยินดีที่จะฝึกตนอย่างคนไม่ประมาท คอยประคับประคองจิตของตนไม่ให้ตกไปในอำนาจของบาปอกุศลธรรมทั้งหลาย  สมดังพุทธภาษิตที่มาในขุททกนิกาย  ธรรมบทว่า
อปฺปมาทรตา  โหถ           สจิตฺตมนุรกฺขถ
ทุคฺคา  อุทฺธรถตฺตานํ  ปงฺเก      สนฺโนว   กุญฺชโร
ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท  คอยรักษาจิตของตน
จงถอนตนจากหล่ม  เหมือนช้างที่ตกหล่มถอนตนขึ้น  ฉะนั้น.
           ความว่า ท่านทั้งหลาย  จงยินดีในความไม่ประมาท ในที่นี้ท่านหมายถึง การดำรงชีวิตอยู่อย่างรอบคอบมีสติคอยระวังไม่ให้จิตอยู่อย่างปราศจากสติ  ไม่ประมาทในการละกายทุจริต  ประพฤติกายสุจริต เป็นต้น  นอกจากนี้พระพุทธองค์ทรงสอนไม่ให้ประกอบความประมาท  คือไม่ให้หลงไปในหลุมพรางของอำนาจความยินดีในกาม คือ ไม่ให้ปล่อยใจไปตามอารมณ์ที่ปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ  เพราะถ้าไม่สามารถควบคุมความต้องการทางอารมณ์     ได้ย่อมก่อให้เกิดพฤติกรรมที่เป็นปัญหา  อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์  ดังนั้นผู้มีปัญญาทั้งหลายจึงรู้จักเพ่งพินิจเห็นโทษของกามคุณ  สิ่งยั่วยุทั้งหลาย ว่าเป็นสาเหตุให้เกิดความโลภ  ความโกรธ  ความหลง  เป็นต้น ตั้งจิตอยู่ในกุศลธรรม  ย่อมได้รับความสุขตามที่ตนเองปรารถนา
           สรุปความว่า  คนไม่มีปัญญา ย่อมมีชีวิตอยู่อย่างผู้ประมาท  มีชีวิตอยู่เพื่อทำความเดือดร้อนฝ่ายเดียว  
ยิ่งมีชีวิตอยู่นาน ยิ่งสร้างบาปอกุศลกรรมไว้มาก  ซึ่งต่างจากผู้มีปัญญา  แม้อยู่เพียงวันเดียว  ก็ประเสริฐกว่าคนไม่มีปัญญา  เพราะคนมีปัญญา  มีชีวิตอยู่อย่างผู้ไม่ประมาท รู้สิ่งที่ควรหรือไม่ควร  ประพฤติสิ่งที่ควรประพฤติ  เว้นสิ่งที่ควรเว้น เป็นผู้เพ่งพินิจ พิจารณาเห็นทุกสิ่งตามความเป็นจริง  บำเพ็ญคุณงามความดี  ย่อมมีชีวิตอยู่เพื่อประโยชน์สุขตนและคนอื่น  สมดังสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้    เบื้องต้นว่า
โย จ วสฺสสตํ  ชีเว      ทุปฺปญฺโญ  อสมาหิโต
เอกาหํ  ชีวิตํ  เสยฺโย   ปญฺญวนฺตสฺส  ฌายิโน.
ผู้ใดมีปัญญาทราม  มีใจไม่มั่นคง พึงเป็นอยู่ตั้งร้อยปี
ส่วนผู้มีปัญญาเพ่งพินิจ  มีชีวิตอยู่วันเดียว  ประเสริฐกว่า.
       
ดังพรรณนามาฉะนี้แล ฯ












2 ความคิดเห็น:

  1. ณ บัดนี้จักได้บรรยายขยายความกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ได้ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้น พอเป็นแนวทางแห่งการศึกษาและนำไปปฏิบัติสืบต่อไป
    เขียนเหมือนกันทุกครั้งใช่เปล่าครับ

    ตอบลบ
  2. ToTo Site Promo Codes - IsOnlinePokies.com.au Page 1
    Toto Site Promo Codes, promotions, and special Offers. 우리카지노 Read our in-depth guide & 토토사이트 find the best online bookmakers for the best betting

    ตอบลบ